หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

รายงานสรุปโครงการออกแบบส่วนบุคคล

รายงานสรุปโครงการออกแบบส่วนบุคคลการออกแบบผลิตภัณฑ์และกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้า ของผู้ประกอบการ ร้าน Golffy Coffee & Bakery

รายงานเล่มนี้คือสรุปขั้นตอนการทำงาน ภายใต้โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์และกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าของผู้ประกอบการ ร้าน Golffy Coffee & Bakery โดยผู้จัดทำได้ศึกษากระบวนการทำงานและขั้นตอนการทำงานตั้งแต่วิธีคิดวิเคราะห์ และลงมือทำ รายงานเล่มนี้อาจมีประโยชน์ต่อผู้สนใจในเชิงการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

สรุปการเรียนการสอน Final Project


Moodboard ส.1 - ส.2
Moodboardส.3

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปการเรียนการสอน สัปดาห์ที่ 13 วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

Present Project เดี่ยวของแต่ละคน


สัปดาห์หน้าจะตรวจขั้นตอนการทำงาน 3ส. พร้อมผลงานเสร็จสมบรูณ์ 

สอบปลายภาค

วันที่ 26 กันยายนจะเริ่มสอบ Project เดี่ยวของแต่ละคนโดยเรียงตามลำดับ เวลา 17.30 น. - 21.00 น.

สรุปการเรียนการสอน สัปดาห์ที่ 12 วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

เริ่มโปรเจคเดี่ยวของแต่ละคน ต่อจากงานกลุ่มโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ในแขวงจันทรเกษม ให้เราเป็นร้านคู่แข่งของร้านเก่าที่เราได้ทำงานกลุ่มมา สามารถเข้าไปดูตัวอย่างการทำงานในแต่ละขั้นตอนได้ที่ http://arti3314.blogspot.com/

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

Sketch Logo


Sketch Logo ร้าน Golffy Coffee Bakery เป็นร้านของเราเองซึ่งเป็นคู่แข่งกับร้าน @SIT

สรุปผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 11

ผลงานสรุป โครงงาน : การศึกษาและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าของผู้ประกอบการสินค้าร้าน @SIT COFFEE BAR - BBK.


มีการจัดนิทรรศการ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ในแขวงจันทรเกษมของร้าน@SIT สรุปขั้นตอนการทำงาน 3 ส. (ส.1 สืบค้น , ส.2 สมมุติฐาน , ส.3 สืบค้น) ลงบน Moodboard

Moodboard ส.1
Moodboard ส.2

Moodboard ส.3
รายงานสรุปเพื่อที่จะให้เห็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละบุคคล พร้อมสรุป Packaging ของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของร้าน@SIT โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้


สรุปการเรียนการสอน สัปดาห์ที่ 8 วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

มีการสอบปฏิบัติกลางภาคเรียน มีงานเป็นงานสอบกลางภาคเรียนโดยทำ Moodboard ขนาด 50x70 cm 1 แผ่น ให้นำเสนอแนวคิดและแนวทางการออกแบบเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่  ให้กับสินค้าของผู้ประกอบการชุมชนของร้าน@SIT ตามที่ได้นำเสนอการศึกษาข้อมูลขั้น ส.1

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สรุปการเรียนการสอน สัปดาห์ที่ 7 วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

1. อาจารย์เดินตรวจงานกลุ่มโครงการออกแบบเพื่อชุมชนในเขตจันทรเกษมของแต่ละกลุ่ม เป็นผลงานที่กำลังเข้าสู่ ส. 3
2. ให้นักศึกษาไปปรับปรุง Packaging ของแต่ละคนมาให้เรียบร้อย 
3. คาบหน้าจะมีการสอบทฤษฎีและปฏิบัติและจะมีการนำผลงานของแต่ละกลุ่ม Present เป็นรายบุคคล

ที่มารูปภาพ : นายณัฐวุฒิ  นุชนา

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สรุปการเรียนการสอน สัปดาห์ที่ 6 วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

  1. สัปดาห์นี้ให้แต่ละกลุ่มมีโครงสร้างของตัวบรรจุภัณฑ์มาเสนอในชั้นเรียนคนละแบบ(ใน1กลุ่มต้องทำมาคนละแบบ) พร้อมทั้งอธิบายโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ในแต่ละกลุ่ม 
  2. งานที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์นี้คือ ให้แต่ละกลุ่ม ออกแบบดีไซน์ กันคนละแบบ รวมทั้ง Logo ของร้านและ Packaging ด้วยทำมาให้เสร็จสมบรูณ์พร้อมนำเสนอในสัปดาห์หน้า ให้เห็นความคืบหน้าของตัวงานในแต่ละกลุ่ม พร้อมจัดทำสไลให้เรียบร้อย

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สรุปการเรียนการสอน สัปดาห์ที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


  • สัปดาห์นี้อาจาร์ให้รายงานความคืบหน้าของโครงการออกแบบเพื่อชุมชนแขวงจันทรเกษม จากสัปดาห์ที่แล้ว 
  • สัปดาห์นี้มีกลุ่มรายงาน 3 กลุ่ม

------------สั่งงาน------------

  1. ให้ Draft logo ของร้านคนละ 1 แบบ
  2. ออกแบบ Pattern ที่จะออกแบบให้ร้านมาคนละ 1  แบบ
รายละเอียดการวิเคราะห์ข้อมูลบรรจุภัณฑ์ร้าน @SIT COFFEE BAR BKK.





ขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลgเบื้องต้นเพื่อนำไปศึกษาในด้านการพัฒนา กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ของร้าน@SIT

จากการไปสำรวจสืบค้นสินค้าภายในร้าน@SIT เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของบรรจุภัณฑ์ในด้านการมองและสังเกตเพื่อไปพัฒนา มีข้อมูลของบรรจุภัณฑ์ดังนี้

Concept ในการออกแบบที่ทางร้านต้องการ ทางร้านต้องการเพิ่มและแก้ไขอัตลักษณ์ของกล่องเค้กและแก้วกาแฟ โดยไม่เปลี่ยนแปลงโลโก้ แ่่ละคงคอนเซ็บของร้าน@SIT โลโก้ร้านใช้รูปเก้าอี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นโมเดิร์น ความคลาสิก ความสบายผ่อนคลาย และดูอบอุ่นในเวลาเดียวกัน ทางร้านต้องการให้ใช้ สีดำ,สีส้ม เป็นสีหลักในการออกแบบ สามารถเพิ่มกราฟิกต่างๆได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้การออกแบบกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ทางร้านขอดูการออกแบบข้างต้น(แบบสเก็ต)เพื่อเลือกดูแบบที่ต้องการให้ออกแบบอีกที




วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สรุปการเรียนการสอน สัปดาห์ที่ 4 วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

  1. อาจารย์ให้นักศึกษารายงานการผลทำงานกลุ่ม Present ส.1 ออกแบบและพัฒนาสินค้าสำหรับผู้ประกอบการในบริเวณแขวงจันเกษม พร้อมรับฟังคำชี้แนะจากอาจารย์ เพื่อนำไปแก้ไขเพื่มเติมต่อในสัปดาห์หน้า ในการรายงาน
  2. อาจารย์ให้นักศึกษาไปหาข้อมูลของแต่ละกลุ่มที่ยัง มีข้อมูลไม่เพียงพอ สำหรับการสืบค้น และอธิบายการคิดและวิเคราะห์ บรรจุภัณฑ์ทางร้านอย่างละเอียด การคิดงบประมาณต้นทุนที่แต่ละกลุ่มจะออกแบบ

Logo ร้าน @Sit



Logo กลุ่ม


วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แก้ไขนามบัตร

ออกแบบนามบัตรขนาด 5 x 9 Cm. ขนาด A4 (21 x 29.7) โดยสร้าง mark ตัดตกให้เรียบร้อยเตรียมไฟล์งานพร้อมปริ้นท์

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรุปการเรียนการสอน สัปดาห์ที่ 3 วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

  1. อาจารย์อธิบายการใช้โปรแกรม boxgen เป็นโปรแกรมออกแบบบรรจุภัณฑ์ต่างๆ
    เพิ่มเติมวิธีการใช้ โปรแกรม boxgen จากhttp://www.youtube.com/watch?v=xGGkZpnanew
  2. โปรแกรมนี้สามารถสร้าง Pattern ของกล่องบรรจุภัณฑ์ต่างๆได้หลายแบบ โปรแกรมนี้เราสามารถตั้งค่าต่างๆได้เอง และโปรแกรมจะคำนวนค่าต่างๆที่เราตั้งไว้ออกมาให้เราเลย 
  3. อาจารย์อธิบายการใช้โปรแกรม illustrator ควบคู่ไปกัีบการใช้ boxgen
  4. งานกลุ่ม อ.ให้ทำแบบสอบถาม ส.1 จากกิจการร้าน ให้สืบค้นข้อมูลเบื้องต้น พร้อมทั้งอธิบายผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ของทางร้านในรูปแบบ Moodborad ควบคู่กับแบบสอบถาม
  5. ออกแบบโลโก้กลุ่ม และนำเสนอ Bloger ของกิจการร้านให้ทางร้านได้เข้าไปติดตามการพัฒนาเรื่อย ๆ
  6. แก้ไขการออกแบบนามบัตรของตัวเอง

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การศึกษาบรรจุภัณฑ์ ชาวเกาะ กะทิแท้ 100%


การศึกษาบรรจุภัณฑ์

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง 
(Product and Package Visual Analysis)

การศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ก่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นในการเรียนการสอน ทั้งยังได้ศึกษาข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ศึกษา ต่อไปนี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ตนได้วิเคราะห์ข้อมูล ผลิตภัณฑ์นั้นคือ ชาวเกาะ กะทิแท้100%

1.ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสินค้า
ชื่อสินค้า : ชาวเกาะ กะทิแท้ 100%
ประเภท : กะทิแบบกล่อง
วัสดุหลัก : กระดาษ
ปริมาตรสุทธิ : 65 มล.
สีกล่อง : ขาว เขียว น้ำตาล
ผู้ผลิต : บริษัทอำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด
ที่อยู่ : 57 หมู่ 3 อำเภอสามพราน นครปฐม 73220
ราคา : 9 บาท

การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนประกอบส่วนประกอบของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ด้วนวิธีการรับรู้ทางการมองเห็น


ภาพที่ 1 ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์สินค้าที่มองเห็นของกะทิ100%ตราชาวเกาะ


หมายเลข 1 คือ รูปที่สื่อความหมายของผลิตภัณฑ์ 
หมายเลข 2 คือ ข้อความ-กราฟิกอัตลักษณ์แสดงชื่อยี่ห้อสินค้าที่เป็นภาษาไทย 
หมายเลข 3 คือ โครงสร้างของบรรจุภัณฑ ในที่นี้คือวัสดุที่เป็นกระดาษ
เป็นกล่องที่เรียกว่า U.HT เราเรียกว่า ” เต็ดตราแพ้ค ” นั้นประกอบด้วยวัสดุ 3 ชนิด คือ กระดาษ 75 %
โพลีเอทที ลีน 20% และอลูมิเนียมฟอยล์ 5 % ประกบเข้าด้วยกัน ถึง 6 ชั้น แต่ละชั้นมีหน้าที่ ดังนี้
ชั้นที่ 1 โพลีเอททีลีน : เป็นฟิล์มบางเคลือบด้านนอกเพื่อป้องกันความชื้นจากภายนอก
ชั้นที่ 2 กระดาษ : เพื่อรักษารูปทรงของกล่องให้กล่องคงทนแข็งแรง การพิมพ์ฉลากก็จะพิมพ์ที่ชั้นนี้
ชั้นที่ 3 โพลีเอททีลีน : เป็นตัวเชื่อมระหว่างชั้นกระดาษกับอลูมิเนียมฟอยล์ ช่วยผนึกกล่องให้แน่นสนิท
ชั้นที่ 4 อลูมิเนียมฟอยล์ : ป้องกันอากาศ (ออกซิเจน) แสงสว่าง และกลิ่น จากภายนอก
ชั้นที่ 5 โพลีเอททีลีน : เป็นตัวเชื่อมระหว่างอลูมิเนียมฟอยล์ กับพลาสติกชั้นในสุด ช่วยผนึกกล่องให้แน่น
ชั้นที่ 6 โพลีเอททีลีน : ป้องกันการรั่วซึมของนมที่อยู่ในกล่อง
หมายเลข 4 คือ ตัวผลิตภัณฑ์ เป็นกะทิซึ่งเป็นของเหลว
หมายเลข 5 คือ ปริมาตรสุทธิ คือ ปริมาตร-น้ำหนักสินค้า ที่เป็นภาษาไทย 
หมายเลข 6 คือ ข้อความ-กราฟิกอัตลักษณ์แสดงชื่อยี่ห้อสินค้าที่เป็นภาษาอังกฤษ
หมายเลข 7 คือ ปริมาตรสุทธิ คือ ปริมาตร-น้ำหนักสินค้า ที่เป็นภาษาอังกฤษ

ภาพที่ 2 ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์สินค้าที่มองเห็นของกะทิ100%ตราชาวเกาะ

หมายเลข 8 คือ Logo บริษัทที่ผลิตสินค้า
หมายเลข 9 คือ สัญลักษณ์การรับรองความปลอดภัย-มาตรฐานการผลิต
หมายเลข 10 คือ ข้อความแจ้งวันที่ผลิต-วันหมดอายุ
หมายเลข 11 คือ ตราฮาลาล คือตราที่ติดบนสลากผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้น
เป็นที่ฮะลาล (อนุมัติ) สำหรับมุสลิมใช้บริโภค
หมายเลข 12 คือ ข้อมูลของผู้ผลิตสินค้า
หมายเลข 13 คือ Logo สินค้า
หมายเลข 14 คือ ข้อมูลแจ้งส่วนประกอบสำคัญของสินค้า
หมายเลข 15 คือ สโลแกนสินค้า
หมายเลข 16 คือ บาร์โค้ด หรือ รหัสแท่ง เป็นเครื่องหมายแทนข้อมูลชนิดหนึ่งที่
เครื่องจักรสามารถอ่านได้
หมายเลข 17 คือ สัญลักษณ์บ่งชี้ เพื่อการแนะนำการเปิดบรรจุภัณฑ์
หมายเลข 18 คือ คำโฆษณา- ความดีของสินค้า-คำเชิญชวน

วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรุปการเรียนการสอน สัปดาห์ที่ 2 วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

  1. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน 40 คะแนน ได้ 17 คะแนน วิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์
  2. อธิบายความหมายและความสำคัญของการออกแบบกราฟิก และการออกแบบสำหรับบรรจุภัณฑ์     อย่างละเอียด
  3. อธิบายการทำ visual analysis และสั่งงานทำ visual analysis บรรจุภัณฑ์ ที่เราเลือกหามา ส่งอาทิตย์หน้า
  4. แบ่งกลุ่ม 5 คน พร้อมสั่งงาน สำรวจสินค้า,ออกแบบและพัฒนาสินค้าสำหรับผู้ประกอบการในบริเวณแขวงจันเกษม ในซอยเสือใหญ่
  5. ทำนามบัตรขนาด 5x9 ใส่รูปตัวเอง พร้อมตรามหาวิทยาลัย

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรุปการเรียนการสอน สัปดาห์ที่ 1 วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

  1. อธิบายวัตถุประสงค์ เนื้อหาการเรียนในเทอมนี้ในการเรียน                                                   วิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์
  2. อธิบายรายละเอียดวิชา
  3. อธิบายวิธีการใช้งาน และความจำเป็นของ ISSUU
  4. อธิบายการใช้งานต่างๆ ของ Google
  5. สร้าง Blogspot ของเราเองในวิชา การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ 
  6. จัดการโปรไฟล์ของตัวเองให้เรียบร้อย
  7. กรอกแบบสำรวจก่อนเรียน วิชา การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์
  8. หาความหมายของ คำว่า การออกแบบกราฟิกและการออกแบบบรรจุภัณฑ์
  9. สมัครเรียนวิชา การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ ใน http://www.clarolinethai.info/ เพื่อสอบก่อนเรียนในสัปดาห์หน้า
  10. อาจารย์อธิบายการแปลข่าว และแสดงตัวอย่างการแปลข่าว 

สัปดาห์ที่ 1

ความหมายของคำว่า
การออกแบบกราฟิก(Graphic Design)


1.1 ภาพลายเส้นหรือภาพที่เกิดจากการวัด จากการขีดเขียนที่แสดงด้วยตารางหรือแผนภาพ การวาดเขียนการระบายสี การสร้างงานศิลปะบนพื้นระนาบ หรืออาจกล่าวอีกนักหนึ่งว่างานกราฟิกหมายถึงกระบวนการออกแบบต่างๆ ในสิ่งที่เป็นวัสดุ 2 มิติ คือมีความกว้างและความยาวเท่านั้น
ที่มาข้อมูล : http://www.learners.in.th/blogs/posts/92622

1.2 - กราฟฟิกเป็นศิลปะแบบหนึ่งที่แสดงออกถึงความคิดอ่านและอารมณ์โดยใช้เส้น รูปภาพ ภาพเขียนหยาบๆ ไดอะแกรมฯลฯ- กราฟฟิกเป็นการสื่อความหมายด้านการใช้ภาพวาด ภาพสเกต แผนภาพ การถ่ายภาพ และอื่นๆ ที่ต้องอาศัยศิลปะ เข้ามาช่วยเพื่อทำให้ผู้ดูเกิดความคิดและการตีความหมายได้ตรงตามที่ผู้ส่งสารต้องการ เช่น แผนภูมิ แผนภาพ ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น
- วัสดุที่เกิดจากการวาดและการเขียนงานออกแบบต่างๆ ในสิ่งที่เป็นวัตถุ 2 มิติ มีความกว้างและความยาวเท่ากัน อันได้แก่ งานสถาปนิกในการเขียนแปลนบ้าน การเขียนภาพเหมือนของจิตรกร การออกแบบโฆษณาของช่างออกแบบ- กราฟฟิกเป็นศิลปะหรือศาสตร์ในการเขียนภาพลายเส้น รวมไปถึงการพิมพ์ การแกะสลัก การถ่ายภาพ และการจัดทำหนังสือ
ที่มาข้อมูล : http://iamthaigraphic.blogspot.com/2012/07/graphic-2-1.html


1.3 เป็นลักษณะของการออกแบบพื้นผิว 2 มิติ เพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับถ่ายทอดข้อความ ความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์ จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง เพื่อให้เข้าใจและรู้เรื่อง
ที่มาข้อมูล : http://bowtysnoo.blogspot.com/

สรุป : การสร้างสรรค์การออกแบบลวดลายจากการวาด การสเกต

ความหมายของคำว่า
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)


1.1 บรรจุภัณฑ์ หมายถึง สินค้าทุกชนิดที่ทำจากวัสดุใดๆ ที่นำมาใช้สำหรับห่อหุ้มป้องกัน ลำเลียง จัดส่ง และนำเสนอสินค้า ตั้งแต่วัตถุดิบถึงสินค้าที่ผ่านการผลิต
ตั้งแต่ผู้ผลิตถึงผู้ใช้หรือผู้บริโภค
Packagingหรือการบรรจุหีบห่อ คือแนวความคิดรวมของระบบในการเตรียมสินค้าเพื่อการจัดจำหน่าย ขนส่ง เพื่อการเก็บรักษาและการตลาด ให้เหมาะสมกับต้นทุนสินค้าและคุณสมบัติของสินค้า
ที่มาข้อมูล : http://thaipackaging.blogspot.com/2009/06/blog-post_02.html

1.2 การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (packaging design) หมายถึง การกำหนดรูปแบบและโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ให้สัมพันธ์กับหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ เพื่อการคุ้มครองป้องกันไม่ให้สินค้าเสียหายและเพิ่มคุณค่าด้านจิตวิทยาต่อผู้บริโภค โดยอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสร้างสรรค์
ที่มาข้อมูล : http://netra.lpru.ac.th/~weta/c1/

1.3 กระบวนการคิดประดิษฐ์สิ่งต่างๆให้แปลกใหม่ สะดวก สบายและสอดคล้องกับลักษณะ รูปแบบ คุณสมบัติของวัสดุ เพื่อใช้ห่อหุ้ม ป้องกันและรักษาคุณภาพ และลักษณะสินค้าให้คงสภาพเดิม หรือใกล้เคียงกับแรกผลิตมากที่สุด
ที่มาข้อมูล : http://nenfe.nfe.go.th/elearning/courses/67/chap8.htm

สรุป : การออกแบบหีบห่อให้มีความแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยให้สัมพันธ์กับหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์

สรุปความหมายของการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์
การสร้างสรรค์ลักษณะลวดลายให้สามรถสื่อออกมาได้ว่า บรรจุภัณฑ์นี้สามารถใช้ในงานอะไร
สามารถบ่งบอกให้ผู้บริโภคทราบถึงชนิดประเภทของผลิตภัณฑ์